******************************

ประกาศ!!!!!! ย้ายบ้านใหม่แล้วนะครับ
ขอเชิญไปเยี่ยมชมได้ที่

Monday, December 28, 2009

Uke Minutes 8 – Major Scales สเกลหลัก





อัลดรีนสอน การหาสเกลหลัก
ให้เลือกโน้ตที่ต้องการขึ้นมาหนึ่งโน้ต จะเป็นโน้ตอะไรก็ได้ หลังจากนั้นให้ใช้รูปแบบดังต่อไปนี้ ในการหาสเกลหลักของโน้ตนั้น

รูปแบบที่ว่าคือ "เต็ม เต็ม ครึ่ง เต็ม เต็ม เต็ม ครึ่ง"

ในแต่ละเฟรทบนอูคูเลเล่ จะหมายถึง ครึ่ง
ดังนั้น ถ้าหนึ่งเฟรทหมายถึงครึ่ง สองเฟรทก็จะมีค่าเท่ากับ เต็ม

สรุปว่า ถ้าพูดว่าเต็ม ให้เลื่อนนิ้วลงมาสองเฟรท
ถ้าพูดว่าครึ่ง ให้เลื่อนนิ้วลงมาแค่เฟรทเดียว

ลองใช้โน้ต A เป็นตัวอย่างในการเล่น (โน้ตเอ คือ เส้นล่างสุดดีดสายเปล่า ถ้าทูนเสียงแบบ G C E A)
เราก็จะเลื่อนนิ้วโดยใช้รูปแบบดังกล่าว เต็ม เต็ม ครึ่ง เต็ม เต็ม เต็ม ครึ่ง
เลื่อนสองเฟรท สองเฟรท หนึ่งเฟรท สองเฟรท สองเฟรท สองเฟรท หนึ่งเฟรท

ต่อมาลองใช้โน้ต C เป็นตัวอย่างในการเล่นบ้าง (โน้ตซี คือเส้นที่สามนับจากข้างล่าง ดีดสายเปล่า)
เราก็จะใช้รูปแบบเดิม เต็ม เต็ม ครึ่ง เต็ม เต็ม เต็ม ครึ่ง
ดีด C สายเปล่า แล้วเลื่อนสองเฟรท (จะได้โน้ต D) เลื่อนสองเฟรทอีกครั้ง (จะได้โน้ต E) ทีนี้โน้ต E ตัวนี้จะเทียบเท่ากับการดีดสายเปล่าของสาย E ซึ่งก็คือสายที่สองที่นับจากข้างล่าง (จำได้มั้ยว่าเราทูนสาย อูคูเลเล่ เป็น G C E A) เราก็จะแทนที่โน้ตตัว E นี้ด้วยการดีดสายเปล่าของเส้นที่สอง
แล้วเราก็เล่นต่อ โดยเลื่อนอีกหนึ่งเฟรท ต่อด้วยสองเฟรท ต่อด้วยสองเฟรท (จะได้โน้ต A แล้วทีนี้) ซึ่งโน้ตเอก็จะไปตรงกับการดีดสายเปล่าของสาย A หรือสายล่างสุดนั่นเอง ก็ใช้ทดแทนกัน
แล้วก็ต่อด้วยสองเฟรท จบด้วยอีกหนึ่งเฟรท เป็นอันสิ้นสุดสเกลหลักของโน้ต C


ให้เราลองหาสเกลหลักของโน้ตแต่ละตัว ในแต่ละตำแหน่งของอูคูเลเล่ เพื่อที่เราจะได้คุ้นเคยกับโน้ตบนคออูคูเลเล่ และเข้าใจหลักการทำงานของอูคูเลเล่


Uke Minutes 7 – History of the Ukulele ประวัติอูคูเลเล่



วีดีโอนี้ อัลดรีนพูดถึงประวัติที่มาที่ไปของอูคูเลเล่
คำว่า อูคูเลเล่ มีหลายความหมายในภาษาฮาวาย แต่ที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดคือ หมัดกระโดด
อูคู หมายถึง ตัวหมัด เล็น ไร
เลเล่ หมายถึง กระโดด
ความหมายนี้อ้างอิงถึง มือของนักดนตรีอูคูเลเล่ที่เล่นนิ้วบนเฟรทบอร์ด ขึ้น ลง จนดูเหมือนตัวหมัดที่กระโดดไปมาบนเฟรทบอร์ด

คำแปลอีกอย่างของอูคูเลเล่ ถูกแปลโดย ราชินี ลิลิอู โอคาลานี่ (เป็นราชินีของคนฮาวายในสมัยก่อน)
อูคู หมายถึง ของขวัญ
เลเล่ หมายถึง การมา
ความหมายนี้อ้างถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยตอนต้นของยุค 1870 เมื่อนักเดินเรือชาวโปรตุเกส ล่องเรือมาที่หมู่เกาะฮาวาย และได้นำเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายกีตาร์ เรียกว่า คาวาโค่ และ มาเช็ตเต้ ซึ่งตัวอูคูเลเล่เองก็เกิดจากการประยุกต์ของเครื่องดนตรีทั้งสองชนิด ที่กลายมาเป็นอูคูเลเล่ที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน

Saturday, December 26, 2009

Uke Minutes 6 – The Roll Technique เทคนิคการโรล หรือการม้วนนิ้ว


อัลดรีนสอนเทคนนิคการโรล หรือการม้วนนิ้ว ช่วยทำให้การสตรัมมีความแปลกใหม่ขึ้น

เอามือซ้ายจับที่คออูคูเลเล่ พาดทุกสายไปเลยจะได้ไม่ต้องกังวล แล้วใช้มือขวาดีดสายโดยการดีดลงทีละนิ้ว เริ่มด้วยนิ้่วก้อย ต่อด้วยนิ้วนาง ตามด้วยนิ้วกลาง และนิ้วชี้ เริ่มทำจากช้า ๆ และเพิ่มความเร็วขึ้นเรื่อย ๆ จนรู้สึกว่าม้วนนิ้้วทั้งสี่ได้ต่อเนื่องไหลลื่นในทีเดียว

ใช้เทคนิคนี้ร่วมกับการสตรัมแบบปกติ เพื่อเพิ่มความเจ๋งให้กับการเล่น สตรัม สตรัม โรล สตรัม โรล

Uke Minutes 5 – How to Re-string Your Ukulele วิธีเปลี่ยนสายอูคูเลเล่



อัลดรีน สาธิตการเปลี่ยนสายอูคูเลเล่
โดยทั่วไปแล้ว ส่วนหัวของอูคูเลเล่จะมีสองแบบ
   หนึ่ง แบบมาตรฐานทั่วไป (เป็นไม้ทั้งก้อน)
   สอง แบบสล็อตเฮด (เป็นไม้ที่เป็นช่อง) คล้ายกีตาร์คลาสสิค

นอกจากนี้ ส่วนบริดจ์ ก็ยังมีสองแบบ
   หนึ่ง แบบที่จะต้องผูกสายให้เป็นปมด้านล่าง แล้วขึงขึ้นมา
   สอง แบบที่จะต้องพันรอบบริดจ์ อ้อมด้านล่าง แล้วม้วนขึ้นด้านปม แล้วจึงผูกปม

ขั้นตอนการเปลี่ยน (ถ้ามีตัวหมุนสายอัตโนมัติ หรือที่เรียกว่าไวเดอร์ ก็ดี แต่ถ้าไม่มีก็หมุนมือเอา ไม่เป็นไร)
   ขั้นแรก คลายสายส่วนหัว แล้วคลายส่วนบริดจ์ ถ้าเป็นบริดจ์แบบที่ต้องอ้อมบนล่าง ก็อ้อมในทิศตรงข้าม ถ้าเป็นบริดจ์แบบที่ผูกปม ก็เพียงแต่ดึงออกมาตรง ๆ
   ขั้นสอง ก็เก็บสายเก่าให้เรียบร้อย
   ขั้นสาม นำสายใหม่มาผูกปม ให้แน่ใจว่าปมใหญ่พอที่จะไม่หลุดผ่านช่องของบริดจ์ แต่ถ้าเป็นบริดจ์แบบอ้อมบนล่าง ก็สอดสายอ้อมบนล่าง และพันตัวมันเอง ขึงสายให้ตึง
   ขั้นสี่ ขึงสายขึ้นไปที่ส่วนหัว พาดผ่านนัท ลอดผ่านทูนเนอร์ ให้แน่ใจว่าสายส่วนที่เกิน ที่จะตัดทิ้งนั้นอยู่ด้านบน
   ขั้นห้า ตัดสายส่วนที่เกินทิ้ง หรือจะม้วนสายให้เป็นวงกลมเพื่อสร้างความแตกต่างให้กับตัวอูคูเลเล่

Uke Minutes 4 – DIY Ukulele Case Humidifier ทำตัวรักษาความชื้นด้วยตนเอง

 

ในวีดีโอนี้ อัลดรีน มาแสดงการทำ DIY (Do It Yourself) ดีไอวาย คือ การทำด้วยตนเอง ไม่ต้องไปหาซื้อ ตัวรักษาความชื้น หรือฮิวมิดดิฟายเอ้อ ด้วยวิธีง่าย ๆ ดังนี้

สิ่งที่ต้องใช้
     กล่องลูกอม Pez (ไม่แน่ใจว่าที่เมืองไทยมีขายหรือเปล่า ถ้าไม่มีลองหากล่องอย่างอื่นที่ลักษณะคล้ายกัน)
     ดินเปียกที่ใช้ปลูกต้นไม้ หรือโฟมฟองน้ำ (น่าจะหาซื้อได้ตามร้านขายต้นไม้)
     สว่าน มีด หรือกรรไกร
ขั้นตอนการทำ
     นำสว่านเจาะกล่องลูกอม ข้้างละ 4 รู
     ตัดดินให้ได้ขนาดที่จะใส่ลงไปในกล่อง
     ใส่ดินลงไปในกล่อง และนำน้ำมาหยดให้เปียกชุ่ม (ระวัง อย่าให้เปียกจนล้นออกมา)
     รดน้ำสัปดาห์ละ 2 ครั้ง นำไปเก็บไว้ในเคสที่ใส่อูคูเลเล่


Wednesday, December 23, 2009

บทสัมภาษณ์ เจค ชิมาบูคูโร่




บทสัมภาษณ์ เจค ชิมาบูคูโร่


29 เมษา 2552 เป็นไปได้ว่า เจค ชิมาบูคูโร่ คือนักดนตรีอูคูเลเล่ ที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในโลก วีดีโอของเจคที่เล่นเพลงของ จอร์จ แฮริสัน เพลง "ไวล์ มาย กีตาร์ เจนลี่ วีบ" นั้นสร้างความตื่นตะลึงและเพิ่มสถานะการเป็นที่ยอมรับของเครื่องดนตรีชนิดนี้อย่างดี (ขอบคุณมาก เจค) ผมว่าพวกคุณ ๆ คงจะรู้กันดีอยู่แล้ว ผมโชคดีที่มีโอกาสได้ถามคำถามเจคผ่านอีเมล์ ระหว่างการทัวร์ของเค้าที่ญี่ปุ่น ขอบคุณเจคที่เสียสละเวลาในการให้สัมภาษณ์นี้


ฮิปปี้กาย: มีผู้คนมากมายที่เพิ่งเล่นอูคูเลเล่ครั้งแรกและต้องการจะเล่นให้เหมือนคุณ มีคำแนะนำอะไรที่คุณจะให้กำลังใจแก่นักดนตรีเกี่ยวกับดนตรี และการสร้างสไตล์การเล่นของตนเอง


เจค ชิมาบูคูโร่: ผมต้องการสนับสนุนและเป็นกำลังใจพวกเขา ให้เล่นให้สนุก และเล่นเพลงที่พวกเขาชอบเล่นและมีความสุข


ฮิปปี้กาย: คุณคิดว่าสิ่งไหนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในเวลาที่คุณฝึกซ้อมดนตรี มันช่วยพัฒนาการเล่นของคุณอย่างไร


เจค ชิมาบูคูโร่: พื้นฐานมีความสำคัญมาก คุณสามารถใช้เวลาทั้งวันในเรื่องพื้นฐานง่าย ๆ เช่น การปิ๊กโน้ตหนึ่งส่วนสี่ หรือการสตรัมโน้ตหนึ่งส่วนแปด เช่นเดียวกับการใช้เวลาปรับปรุงโทนเสียงที่มีส่วนสำคัญมาก


ฮิปปี้กาย: ดูเหมือนว่าทุกคนจะรู้จักกิติศัพท์คุณในเรื่องของสไตล์การเล่นที่มีความเร็ว แต่ว่าอะไรเป็นสไตล์การเล่นที่ตัวคุณเองชอบมากที่สุด


เจค ชิมาบูคูโร่: ผมพยายามที่จะเล่นในสิ่งที่ผมรู้สึกอยู่เสมอ ผมเชื่อเสมอว่าความรู้สึกของมนุษย์นั้นเป็นส่วนประกอบที่วิเศษเหมือนเวทย์มนต์ ไม่ว่าจะเป็นดนตรีในรูปแบบใดก็ตาม สิ่งที่ท้าทายที่สุดคือความสามารถในการถ่ายทอดความเป็นตัวคุณเองออกมา อย่างตรงไปตรงมาโดยไม่บิดเบือน


ฮิปปี้กาย: ช่วงนี้คุณกำลังทำอะไรอยู่เพื่อที่จะกระตุ้นตัวคุณเอง และผู้ฟัง










เจค ชิมาบูคูโร่: ผมพยายามที่จะแต่งเพลงอย่างสมำ่เสมอ และนำเพลงที่ผมเคยเล่นที่ผ่าน ๆ มา มาเรียบเรียงใหม่ มันช่วยทำให้ผมรู้สึกสด ใหม่ และตื่นเต้น


ฮิปปี้กาย: ผมต้องถามคุณเรื่องนี้หละ บริษัทเพลงของคุณ ห้ามไม่ให้เว็บไซต์ของผมเผยแพร่แท็บเพลงของคุณ ไม่ทราบว่าคุณ และโซนี่มีแผนที่จะทำหนังสือเพลงอูคูเลเล่ แท็บของเจค ชิมาบูคูโร่ อย่างเป็นทางการหรือไม่











เจค ชิมาบูคูโร่: จริง ๆ แล้วผมเองก็กำลังทำมันอยู่ ผมไม่เคยคิดเลยว่ามันจะใช้เวลาและความพยายามอย่างมากในการที่จะเขียนโน้ตการเล่นของตัวผมเอง มันเหมือนการฝึกซ้อมอย่างดีเลยหล่ะ เพราะมันบังคับให้ผมต้องวิเคราะห์ทุกสิ่งที่ผมทำในแต่ละเพลง พอผมเริ่มเขียนโน้ตด้วยการเล่น ผมตะหนักว่าผมเคยเล่นอะไรหลายอย่างที่ไม่ค่อยเข้าท่าโดยที่ผมไม่เคยรู้ตัวมาก่อน มันช่วยผมจริงๆ ในการปรับปรุงการเล่นและการทำคอร์ดให้ได้เสียงที่ผมต้องการในรูปแบบต่าง ๆ กันไป


ฮิปปี้กาย: ที่ฮาวาย ศิลปิน (รวมถึงคุณด้วย) มักจะมีเวลาที่จะพบปะพูดคุยกับแฟนเพลงหลังการขึ้นโชว์ ไม่ทราบว่าคุณยังสามารถที่จะรักษาความใกล้ชิดกับแฟนเพลงแบบนั้นในการทัวร์คอนเสิร์ตใหญ่ ๆ อย่างเช่นการทัวร์ร่วมกับ จิมมี่ บัฟเฟท หรือไม่

เจค ชิมาบูคูโร่: สำหรับผมแล้ว ส่วนที่ดีที่สุดในการเล่นคอนเสิร์ตคือการได้พบกับผู้ชมหลังจากจบการเล่น ผมชอบเสมอที่จะได้ฟังคำติชม และรับฟังความคิดเห็นเกี่ยวกับดนตรี จากผู้ชม บางคนถึงกับนำอูคูเลเล่ โบราณของสะสมมาที่คอนเสิร์ตเพื่อให้ผมตรวจดู สิ่งเหล่านี้มันสนุกสำหรับผมเสมอ แต่เมื่อผมทัวร์กับจิมมี่ บัฟเฟท ผมไม่ได้มีโอกาสที่จะพบกับผู้ชมหลังโชว์ นอกจากนั้นแล้ว ผมคิดว่าผู้ชมคงอยากที่จะพูดคุยกับจิมมี่ มากกว่าที่จะมาพูดคุยกับคนไม่ค่อยมีความสำคัญอย่างผม ฮ่า ฮ่า ๆ





ขอบคุณ เจค ชิมาบูคูโร่ อีกครั้ง และขอบคุณประชาสัมพันธ์ส่วนตัวของเค้า ไมเคิล บลูม ที่จัดให้มีการสัมภาษณ์ในครั้งนี้ เราจะตั้งตารอคอยหนังสือแท็บของเจค เจคยังเสริมขึ้นมาอีกว่า เค้าจะปล่อยอัลบั้มเพลงของเดอะบีทเทิ้ลช่วงปลายฤดูร้อน


(แปลโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของบทความ) 


แปลจาก


http://liveukulele.com/interviews/interview-with-jake-shimabukuro/










April 29, 2009 ~ Jake Shimabukuro is probably the most well known ‘ukulele player in the world. His viral video of George Harrison’s “While My Guitar Gently Weeps” has done wonders to improve the status of the instrument (thank you!). You guys know the rest… I was lucky enough to get a chance to ask Jake some questions via email during one of his tours of Japan. Thank you for taking the time to do this interview Jake.









Hippie Guy: Many people who are picking up the ‘ukulele for the first time want to play like you. What advice can you give to aspiring musicians about music and creating their own style?jake shimabukuro ukulele








Jake Shimabukuro: I would encourage them to just have fun and play songs that they enjoy.
HG: What do you think is the most important thing you have practiced, and how has it improved your playing?
JS: The basics are so important. You can never spend enough time on simple things like picking quarter notes or strumming straight eighths. Also, spend time working on your tone. That’s the key.
HG: Everyone seems to know you for your speed, but what is your favorite aspect of your own playing style?
JS: I always try to play what I feel. I always believed that human emotion is the magical ingredient in any form of music. To express yourself honestly is the greatest challenge.
HG: What are you doing at this moment to keep things fresh for you and your audiences?
JS: I’m constantly trying to workout new arrangements for songs that I’ve been playing for years. It helps to keep things fresh and exciting.
HG: I have to ask: Your record company has said that websites like mine can’t publish tabs for your songs. Do you or Sony have plans for making an official “Jake Shimabukuro ‘Ukulele Tab Book”?
JS: I’m actually working on one right now. I didn’t realize how much time and effort it takes to notate your own playing. It has been a great exercise for me because it forces me to analyze everything that I’m doing in each tune. Once I started notating by playing, I realized that I was doing a lot of things just out of habit, without thinking. It actually has been helping me to improve my arrangements and approach the voicing of my chords in different ways.
HG: In Hawai’i, artists (including yourself) are readily available after shows and such to interact with fans. How – or even can – you keep that level of contact during a big tour with someone like Jimmy Buffet?
JS: To me, the best part about playing a concert is meeting the audience after the show. I always enjoy hearing people’s comments and opinions about the music. Some people even bring vintage ukuleles to the concert for me to checkout. That’s always fun. When I’m touring with Jimmy Buffett, unfortunately, I don’t have the chance to meet anyone after the show. Besides, everyone there wants to talk to Jimmy, not little ol’ me. Hehe!
Thanks again to Jake Shimabukuro and his PR guy Michael Bloom for setting up the interview. We’ll be watching for that tab book! Jake also added that he will be releasing a Beatles tribute album around the end of summer.




Uke Minutes 3 – Ukulele Size ขนาดต่าง ๆ ของอูคูเลเล่



Aldrine โชว์ขนาดต่าง ๆ ของอูคูเลเล่ เริ่มจาก
1. โซปราโน ขนาดมาตรฐาน และขนาดเล็กสุด มี 12 เฟรท เสียงจะใสเพราะขนาดของตัวบอดี้ที่เล็ก
2. คอนเสิร์ต โดยทั่วไปมีเฟรท 15 เฟรท หรือมากกว่า ตัวที่โชว์นี้มี 17 เฟรท ขนาดอยู่ระหว่างโซปราโนและเทนเนอร์
3. เทนเนอร์ ขนาดและเสียงจะใหญ่ขึ้น ทูนเสียง
4. บาริโทน ขนาดใหญ่ที่สุด ทูนเสียงเหมือนสายล่าง 4 สายของกีตาร์ (DGBE) ต่างจากสามตัวบนที่ทูน (GCEA)

ในวีดีโอนี้มีบทความแนบอยู่ด้วย ขอยกยอดไปแปลคราวหน้านะครับ

Uke Minute 2 – Basic Strum สตรัม ขั้นพื้นฐาน



Aldrine สอนการสตรัมขั้นพื้นฐาน
ขั้นแรกเอามือซ้ายวางไว้บนสายเพื่อไม่ให้เกิดเสียง
เอามือขวา ชี้นิ้วชี้เข้าหาตัวเอง บิดข้อมือ ขึ้น ลง ขึ้น ลง เริ่มจากช้า ๆ แล้วบิดให้เร็วขึ้นเรื่อย ๆ
ไม่จำเป็นต้องทำแค่ขึ้น ลง ขึ้น ลง ให้คุณลองสร้างรูปแบบของตัวเองขึ้นมา เช่น ลง ขึ้น ขึ้น ลง
หรือ ขึ้น ๆ ลง ๆ A B A B สตาร์ท (ถ้าใครเคยเล่นเกมส์ Contra ต้องรู้จักมุขนี้ของ Aldriene แน่นอน)

Uke Minute 1 – Accessories อุปกรณ์เสริม



Aldrine พูดถึงอุปกรณ์เสริม
1. External Pickup หรือปิ๊กอัพแบบต่อภายนอก ไม่ต้องเจาะรูเพื่อติดตั้ง เพียงแค่แปะไว้บนตัว Uke เครื่องจะจับความสั่นสะเทือนและต่อออกแอมป์ได้เลย
2. Digital Tuners หรือเครื่องทูนเสียงแบบดิจิตอล ควรจะมีไว้ติดตัว
3. Capos หรือตัวหนีบ ใช้แบบเดียวกับที่ใช้ในแมนโดลิน หรือแบนโจ ขนาดใกล้เคียงกัน
4. Straps  หรือสายคล้อง ใช้สายของกีตาร์คลาสสิคก็ได้ ซึ่งก็เพียงแต่คล้องเข้าไปที่ด้านล่างของรูเสียง และก็คล้องคอ เป็นอันใช้ได้

Tuners มีกี่ชนิด


คิดว่าน่าจะแบ่ง Tuners ได้ออกเป็น 4 แบบหลัก ๆ นะครับ

1. Wood Tuners ที่ทำจากไม้ พบได้ในรุ่นเก่า ๆ ครับ รุ่นปี 1920 แถว ๆ นั้นหน่ะครับ หลักการก็ง่าย ๆ เลยครับ เป็นไม้เสียบเข้าไปในรู แล้วอาศัยแรงเสียดทานของไม้ ถ้าใครมี Uke เก่า ๆ ก็อาจจะหา Tuners ของไวโอลินมาทดแทนกันได้




 2. Friction Tuners อาศัยแรงเสียดทาน อัตราทด หนึ่งต่อหนึ่ง หมุนด้านหลังหนึ่งที ด้านหน้าจะหมุนไปหนึ่งทีเช่นกัน เป็นรุ่นที่ทันสมัยขึ้นมาจากแบบไม้ ปัจจุบันยังมีใช้อยู่หลากหลาย น้ำหนักเบา ดูเรียบ ๆ สบายตา ไม่ยื่นออกมาด้านข้างให้เกะกะ



3. Geared Tuners เป็นระบบที่ใช้ฟันเฟือง อัตราทดจะละเอียดขึ้น หมุนด้านหลังหนึ่งที ด้านหน้าอาจจะหมุนไปแค่หนึ่งในยี่สิบ (ถ้าอยากรู้ให้แน่ ให้นับจำนวนฟันเฟือง) เป็นที่นิยมเพราะสามารถปรับได้ละเอียด ข้อเสียคือมีน้ำหนักมากกว่าแบบ Friction Tuners อาจจะทำให้นำ้หนักส่วนหัวหนักไป บางคนอาจจะไม่ชอบที่ตัว Tuners จะยื่นออกมาด้านข้าง (เป็นเรื่องที่ช่วยไม่ได้ เพราะเฟืองต้องขัดกันทำมุม 90 องศา)




Geared Tuners ยังสามารถแบ่งออกได้เป็น แบบเปิด และแบบปิด แบบเปิดก็จะสามารถเห็นฟันเฟืองได้อย่างชัดเจน แบบปิดจะมีตัวครอบข้างในจะใส่จารบีไว้ (ไม่ต้องเปลี่ยนถ่าย ใช้งานได้ตลอดชีพ)







 ปัจจุบันที่กำลังนิยมอย่างมากคือ Geared Tuners ที่ใช้ร่วมกับ Slotted Head ซึ่งจะไม่ทำให้ Tuners ยื่นออกมาด้านข้าง





4. Peg Tuners ลักษณะหน้าตาจะคล้ายกับ Wood Tuners แต่ข้างในซ่อนเกียร์ระบบ Planetary ไว้ อัตราทด หนึ่งต่อสี่ ได้รับความนิยมมากเหมือนกัน สำหรับ Uke ที่ต้องการรักษารูปลักษณ์ให้เหมือนรุ่นโบราณ


Tuesday, December 22, 2009

ต้นโคอา Koa



ต้นโคอา เป็นต้นไม้ท้องถิ่นของคนฮาวาย นิยมนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ และอูคูเลเล่ ราคาจะสูงกว่าไม้ทั่วไป เนื่องจากหายาก โคอามักจะขึ้นในบริเวณที่เคยเป็นภูเขาไฟมาก่อน หรือที่เคยมีลาวาไหลผ่าน ส่วนใหญ่จึงพบได้ที่เกาะ Big Island ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่ทีสุดในหมู่เกาะฮาวาย

เสียงที่ได้จากไม้โคอา จะใสและกังวาน โคอาบางต้นจะมีลักษณะที่เรียกว่า Curly หรือรอยหยัก เิกิดจากไม้ถูกลมพัดเป็นเวลานานทำให้เกิดรอยหยักคล้ายคลื่น เมื่อนำมาขัดให้ขึ้นเงา จะทำให้ไม้ดูมีมิติขึ้น นำไปส่องใต้แสงไฟจะเห็นเป็นรอยวิบวับ น่าแปลกตรงที่ว่าในอดีต ไม้ที่มีรอยหยักแบบนี้จะถือว่าเป็นไม้ที่มีตำหนิ แต่ในปัจจุบันกลับได้รับความนิยมอย่างสูง ราคาจึงสูงตามไปด้วย

วิธีเก็บรักษาอูคูเลเล่



มาต่อกันด้วยวิธีเก็บรักษานะครับ

1. เก็บไว้ในเคส ดีที่สุดครับ เวลาไม่เล่นก็เก็บใส่เคส จะเป็นเคสอ่อน เคสแข็ง ได้ทั้งนั้นครับ (แต่ผมว่าอย่างแข็งดีกว่านะ เผื่อมีอะไรมากระทบกระแทก)

2. เก็บเคสไว้ในที่ที่ไม่โดนแดด โดนฝน โดนลม ห้ามเก็บในรถนะครับ เพราะอากาศจะร้อนมาก ไม่ถ่ายเท ส่วนตัวผมเก็บไว้ในตู้เสื้อผ้า (ที่ไม่อบอ้าว)

3. เวลาเดินทางไกล ขึ้นเครื่องบิน หรือส่งอู๊คไปทางอากาศ ควรจะทำการหย่อนสาย เพราะความกดอากศอาจจะทำให้สายตึงเกิดการเสียหายได้ ไม่ต้องถึงกับถอดสายออกมา แค่ผ่อนให้สายมันหย่อน ๆ แล้วเดี๋ยวลงจากเครื่องแล้วค่อยทูนกันใหม่

4. ไม่ควรให้โดนน้ำ ถ้ามือเลอะน้ำ ก็เช็ดให้แห้งก่อนเล่น นำ้กับไม้ ไม่ค่อยถูกกัน

5. ถ้ามือมันมาก หรือเหงื่อออกมา เวลาเล่นเสร็จแล้ว ก็ให้เอาผ้าแห้ง ๆ เช็ดโดยรอบ โดยเฉพาะบริเวณเฟรทบอร์ด ถ้าเป็นผ้าชนิดที่เป็นเส้นใยละเอียด micro fiber จะดีมาก เพราะทำความสะอาดได้ลึกถึงใจ

6. ถ้าอาศัยอยู่ในเมืองที่อากาศร้อนจัด หรือหนาวจัด อากาศแห้ง ๆ อาจจะต้องหา humidifier มาไว้ มันเป็นเหมือนตัวรักษาความชื้น นำไปชุบน้ำ แล้วก็ทิ้งไว้ในเคส (ไม่ต้องชุบมากจนมันหยดออกมานะครับ) แล้วเดี๋ยวมันจะแห้งของมันไปเอง เดือนหนึ่ง อาจจะนำไปชุบน้ำสักครั้งสองครั้ง แต่ผมคิดว่าที่เมืองไทยมันร้อนชื้น คงไม่เป็นไร

7. ถ้ามีอู๊คหลายตัว หยิบเล่น หยิบวางอยู่เป็นประจำ อาจจะต้องหาแสตนด์มาตั้ง ดีกว่าไปวางไว้ที่พื้นให้ฝุ่นเกาะ เคยเห็นบางคนทำตะขอติดผนัง แขวนข้างฝาก็สวยดีไปอีกแบบ (อย่าไปแขวนในที่ ๆ แดดส่องถึงเป็นใช้ได้)

8. ห้ามเก็บไว้ในรถ กระโปรงหลังรถยิ่งไม่ได้เลย (ขอเตือนอีกครั้งหนึ่ง) เสี่ยงต่อการโดนขโมยด้วยนะ

9. จริง ๆ มันมีวิธีขัดถูอู๊คด้วยนะ แต่ไม่ค่อยอยากให้ทำถ้าไม่จำเป็นจริง ๆ เพราะจะต้องใช้น้ำยาเคมี หรือครีมมาทา แล้วขัด ๆ ส่วนตัวเราใช้ผ้าแห้งเช็ดธรรมดา หรือถ้าจำเป็นจริง ๆ อาจจะแค่ชุบน้ำพอหมาด ๆ (อย่าถึงกับเปียก) รีบเช็ดแล้วก็รีบถูให้แห้งโดยไว

หวังว่าคงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะครับ

วิธีเลือกซื้ออูคูเลเล่



ขอออกตัวก่อนเลยนะครับว่าผมไม่ได้เป็นนักดนตรี มืออาชีพ ก็ยังหัดเล่นอยู่หน่ะครับ พอจะมีอะไรมาแบ่งปัน ช่วยกันได้ก็ช่วยกันครับ

วิธีเลือกซื้อ
1. อู๊คที่ดี ต้องไม่ใช่สวยแค่รูปนะครับ เสียงเป็นส่วนที่สำคัญกว่า (เว้นเสียแต่ว่า จะซื้อมาตั้งโชว์เฉย ๆ) แต่ให้ดีที่สุดคือ เสียงและรูปควรจะดีทั้งคู่ ลวดลายที่ฝังมุก ทำขอบคิ้วไม่ได้มีผลกับเสียง ถ้าจะต้องจ่ายเพิ่มก็ควรคำนึงถึงจุดนี้ด้วย บางยี่ห้อใส่เครื่องประดับเข้าไปเยอะ เสียงทึบและหนักเข้าไปอีก

2. ไม้ที่ใช้ทำมีส่วนสำคัญมาก ไม้แต่ละชนิดจะให้เสียงแตกต่างกันไป ถ้าพอจะมีกำลังทรัพย์ ขอแนะนำให้ซื้อไม้ที่เป็น ไม้แท้ทั้งตัว (solid) จะดีกว่าไม้อัด (composite หรือ plywood) ยกตัวอย่าง ไม้ all solid mahogany ก็จะทำจาก mahogany ทั้งแผ่น ไม่ผสมอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น แต่ถ้าเป็นไม้ composite อาจจะเป็นลักษณะที่่ว่า นำไม้อัดมาทำแล้วใช้ mahogany แผ่นบาง ๆ แปะด้านหน้าเพื่อความสวยงาม

3. ไม้ที่เป็น solid ยิ่งเล่น เสียงจะยิ่งดีขึ้นตามกาลเวลา เก็บให้เก่าอย่างเดียวก็จะไม่ดีเท่าเก็บแล้วเล่น ต้องเล่นให้ไม้มันได้สั่น ได้ดิ้นหน่ะครับ

4. เสียงดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อผ่านไปประมาณ 1 ปี แล้วน้ำหนักจะเบาลง เพราะไม้จะแห้ง สังเกตอู๊ครุ่นเก่า ๆ จะเบากว่าตัวใหม่ที่เพิ่งออกมาจากโรงงาน โดยส่วนตัวแล้วถ้าซื้อของมือสองแล้วเสียงมันดี ผมว่าดีกว่าซื้อมือหนึ่งแต่เสียงไม่ดี (แล้วก็ไม่แน่ว่าอีกอีกปีเสียงมันจะดีขึ้นมา)

5. สังเกตบริเวณรอยต่อต่าง ๆ ควรจะต้องหนาแน่น จุดที่ควรระวังคือบริเวณ คอ และบริเวณ bridge (ส่วนที่สายด้านล่างลงมาร้อย) ใช้ไปนาน ๆ บางทีคอเบี้ยว คอคด  ส่วนที่เป็น bridge ถ้ากาวไม่หนาแน่น มันอาจจะหลุดออกมาได้ เพราะแรงดึงของสาย (บางยี่ห้อ ยังไม่ทันจะไขให้สายตึงได้ทูน ไขไป bridge ดังแก๊ก ๆ ๆ ๆ แล้ว) ถ้าซื้อของมือสองให้สังเกตุว่า มีรอยกาวหรือรอยซ่อมบริเวณ คอ หรือ bridge หรือเปล่า ไม้ที่ผ่านการซ่อมแซมมักจะมีรอยให้เห็น เช่นรอยเดิมกับรอยใหม่อาจจะไม่ทับกันพอดี หรือมีกาวที่ล้นเกินออกมา อู๊คเก่า ๆ คุณภาพงานดีอย่างของ Martin  หรือ Kamaka  อายุหกเจ็ดสิบปี ไม่เคยมีปัญหา

6. วางอู๊คในแนวระนาบ แล้วเล็งดูว่าไม้มีการคดงอหรือไม่ แนบตาลงไปจนชิดกับส่วนท้ายของอู๊ค แล้วส่องไปที่ส่วนหัว เราควรจะเห็นเฟรทบอร์ดเรียงตัวกันเป็นระเบียบ ถ้าอู๊คคอเบี้ยว จะมองออกว่าเฟร็ดไม่อยู่ในแนวระนาบ อู๊คใหม่ ๆ ไม่ค่อยมีปัญหานี้ (แต่ก็ไม่แน่) ส่วนมากอู๊คเก่า ๆ จะเป็นเนื่องจากเก็บไม่ถูกวิธี

7. ลองขยับ ไข tuners ดูว่าหลวมหรือเปล่า ไขได้คล่องมั้ย ถ้าเป็น friction tuners เราอาจจะต้องไขหมุดโลหะด้านบนสุดก่อน (แล้วมันจะแน่นขึ้น) แต่ก็ไม่ควรไขจนหมุนไปไหนไม่ได้ ซึ่งอาจจะทำให้เกิดความเสียหายกับไม้ได้

8. ลูบ ๆ คลำ ๆ โดยเฉพาะส่วนที่เป็นขอบของเฟทบอร์ด ควรจะถูกตะไบให้เรียบร้อย ไม่ให้มีส่วนแหลมคม คงไม่ดีแน่ถ้าเล่นแล้วเฟรทแทงฉึก เลือดพุ่ง

9. ลูบ ๆ คลำ ๆ (อีกแล้ว) ไปรอบ ๆ เพื่อดูว่าแล็คเกอร์ถูกทาสมำ่เสมอทั่วตัว (เว้นรุ่นผิวด้าน อาจจะดูยากนิดนึง)

10. สังเกตโดยรอบว่ามีรอยแตก รอยหัก รอยบิ่น รอยข่วนใด ๆ หรือไม่  ของมือหนึ่งไม่ควรจะเป็นรอย ของมือสองอาจจะมีรอยบ้าง ถ้าเป็นแค่รอยข่วน (scratch) ที่ผิวแลกเกอร์ไม่ได้กินลึกเข้าไปในเนื้อไม้ ก็เป็นเรื่องปกติ เพราะเกิดจากการผ่านการเล่น ผ่านการสตรัม แต่ถ้าเป็นรอยแตกของเนื้อไม้ (crack) ต้องระวังให้ดี เพราะเล่นไปนาน ๆ อาจจะแตกเพิ่มถ้าไม่ซ่อมแซม แต่บางรอยแตกเป็น แบบแตกบาง ๆ (hairline crack) ก็ไม่ต้องทำอะไรเพิ่มเติม ถ้ารอยแตกใหญ่ถึงขนาดที่ส่องอู๊คกับไฟแล้วเห็นทะลุลอดไปได้ ควรจะระวังเป็นพิเศษ  แต่เชื่อหรือไม่ว่าอู๊คเก่า ๆ บางตัว (เห็นมากับตา ฟังมากับหู) มีรูโหว่เบ้อเร่อ แตกบิ่นทั่วร่าง  แต่เสียงโคตรดี

อ้อ..อย่าลืมส่องดูข้างใน sound hole เผื่อเจอแมงมุมทำรังอยู่ ระวังโดนกัด สังเกตดูพวก braces (กระดูกงู  หรือเปล่า) ที่อยู่ตามขอบด้านใน ว่างานเรียบร้อยดี

11. ดมดู (อย่างเพิ่งขำไป) ถ้าซื้อของเก่ามือสอง กลิ่นควรจะเก่า ๆ ถ้ากลิ่นใหม่ให้พึงระวังว่า อาจจะผ่านการซ่อมแซมและทาแลกเกอร์ใหม่ทับ

12. Intonation ควรจะถูกต้อง แต่ละเฟรทควรจะมีโน้ตที่ถูกต้อง ถ้ามีเครื่อง digital tuner ก็ไช้ไล่ไปเลยทีละช่อง เทียบกับตารางโน้ต ที่เฟรท 12 เสียงควรจะกลับมาเป็น G C E A

13. สตรัมเพลงโปรดสักเพลงสองเพลง แล้วลองฟังดู อาจจะให้เพื่อนไปยืนอีกฟากหนึ่งของห้อง แล้วช่วยฟัง tone  และharmonic เสียงควรจะกลมกล่อม ไม่ควรมีโน้ตใดโน้ตหนึ่งกระโดดดึ๋งออกมา โดยไม่ได้รับเชิญ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ถ้าเราฟัง เราเล่น แล้วเราชอบ ก็ไม่ต้องไปสนใจใคร

14. เอ๊ะ นี่เริ่มเขียนยาวเกินไป ยังไม่ทันขึ้นวิธีเก็บรักษาเลย ไว้มาต่อคราวหน้าละกัน หวังว่าคงเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับ แล้วไว้พบกันใหม่

วิธีเล่น Aloha Oe

Tab อยู่ด้านล่างครับ คลิกที่รูปเพื่อขยาย




Chord Chart Part II

Chord Chart Part I


วิธีเล่นเพลง Somewhere over the rainbow

เนื้อเพลงและคอร์ดอยู่ด้่านล่างครับ คลิกที่รูปเพื่อขยาย






Yesterday

วิธีตั้งสายหรือทูน Uke

ขนาดของ Ukulele

ส่วนประกอบของ Uke

Sunday, December 20, 2009

มารู้จักกับอูคูเลเล่




เครื่องดนตรีนี้มีปัญหาในการเรียกชื่อครับ ฝรั่งสองคนเรียกไม่เหมือนกัน
เอาแท้ ๆ ดั้งเดิมเลยนะครับ Ukulele ออกเสียงว่า อู คู เล เล่
เป็นภาษาฮาวาย แปลเป็นอังกฤษว่า Jumping Flea แปลเป็นไทยอีกทีว่า เห็บกระโดด (ฟังไม่ค่อยรื่นหูนะ ฮ่ะ ๆ)

เวลาที่ทูนเสียง นิยมทำเสียงให้คล้องกับสาย G C E A ว่า My dog has flea. ลองไล่สายแล้วพูดประโยคนี้ดูครับ

เค้าบอกว่าสาเหตุที่มันมีชื่อนี้ เพราะเวลาคนเล่นอูคูเลเล่ นิ้วบนเฟรทบอร์ดจะดูเหมือนเห็บกระโดดไปมา (คิดได้ไง) แล้วก็ยังมีอีกหลายทฤษฎี แต่ทฤษฏีนี้ดังที่สุดว่าทำไมเครื่องดนตรีนีุ้ถึงได้ชื่อนี้ ต้นกำเนิดจริง ๆ มาจากโปรตุเกส แต่มาดังเปรี้ยงปร้างที่ฮาวาย

ฝรั่งที่ไม่ได้มาจากฮาวายจะออกเสียงอีกอย่างว่า ยู คู เล เล่ (สังเกตุจาก อู เป็น ยู) บางครั้งเรียกสั้น ๆ ว่า Uke อูค หรือยูค ก็ได้ครับ